คำผาง พวงทับทิม โทร.084 125 0585

SOCIAL WEB RADIO NETWORK : 10 ข้อปฏิบัติ ในการควบคุมโรคระบาดไก่

 


SOCIAL WEB RADIO NETWORK : 10 ข้อปฏิบัติ ในการควบคุมโรคระบาดไก่:    10 ข้อปฏิบัติ ในการ      การระบาดของโรคไก่ มันจะมีให้เห็นในผู้ที่เลี้ยงไก่ ไก่เลี้ยงโรงปิด ยังพออุ่นใจบ้าง ส่วนผู้ที่เลี้ยงไก่แบบธรรมดา เป็นงานอดิเรก ไม่ถึงกับมีขนาดต้องสร้างโรงเรือน ก็มีกันเป็นส่วนใหญ่ การเลี้ยงไก่แบบเปิด จะเกิดโรคได้มากกว่า ไก่ที่เลี้ยงแบบโรงเรือนปิด 

     กลุ่มเลี้ยงไก่อีกกลุ่มหนึ่งคือ กลุ่มคนเลี้ยงไก่ชน ซึ่งราคาไก่ชนแต่ละตัวก็ไม่ใช่น้อยๆ มีตั้งแต่หลัก ร้อย, พัน, หมื่น, แสน ถึงล้าน หรือหลายๆล้านกันเลยทีเดียว หากโรคไม่ดี แก่ติดโรคขึ้นมา และตายก็เป็นที่น่าเสียใจ เพราะมูลค่าไก่ชนแต่ละตัวนั้นสูงจริงๆ เรามารู้จัก 10 ข้อปฏิบัติ ในการควบคุมโรคระบาดไก่ กันหน่อยนะครับ
 

  1. หยอดหรือฉีดวัคซีน หรือแทงปีกครับ ให้ทำเป็นประจำ ตามโปรแกรมการให้วัคซีน
  2. คอก เล้า หรือโรงเรือนเลี้ยงไก่ ตั้งอยู่บริเวณที่ดี มีอากาศถ่ายเท มีลักษณะและขนาดเหมาะสมกับจำนวนไก่ สามารถป้องกันสัตว์พาหะนำโรค เช่น นกกระจอก นกพิราบ อีกา สัตว์ปีกชนิดอื่นๆ หนู สุนัข แมว และสัตว์ชนิดอื่นๆ 
  3. ให้น้ำสะอาด โดยเปลี่ยนน้ำให้ไก่กิน อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ทำความสะอาดรางน้ำ รางอาหาร และภาชนะใส่อาหารเสมอๆ 
  4. ทำความสะอาดคอก เล้า หรือโรงเรือนเป็นประจำ รวมทั้งบริเวณล้อมรอบ อย่าให้มีแอ่งน้ำสกปรก ต้องมีน้ำยาฆ่าเชื้อโรคสำหรับจุ่มเท้าก่อนเข้า 
  5. ป้องกันเชื้อโรคจากภายนอก เช่น ไม่นำไก่จากแหล่งที่เป็นโรค หรือสงสัยว่าเป็นโรค หรือไม่ทราบแหล่ง เข้ามาในฟาร์มและรวมในฝูงทันที
  6. ถ้าจะนำไก่จากแหล่งอื่น มาเลี้ยงก็ต้องขังไก่แยกกักกันโรคไว้ก่อน อย่างน้อย 15 วัน เพื่อดูอาการให้แน่ใจก่อนว่าไก่ไม่เป็นโรคแน่นอนจึงนำเข้ามาเลี้ยงรวมฝูงได้
  7. ไก่ป่วยต้องแยกออกจากฝูง แล้วทำการรักษาโรคทันที ถ้ารักษาไม่ได้ผล ก็ต้องคัดออกทิ้ง และทำลาย เพื่อป้องกันการแพร่โรคในฝูง 
  8. เมื่อเกิดโรคระบาด ต้องทำลายไก่ป่วย และซากไก่ตาย ด้วยการฝังลึกไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร โรยด้วยปูนขาว แล้วกลบดินทับปากหลุม หรือเผา นำวัสดุรองพื้นออกมาเผา ทำความสะอาดรางน้ำ รางอาหาร ภาชนะใส่อาหาร อุปกรณ์ต่างๆ พ่นภายใน ภายนอก และบริเวณรอบๆ คอก เล้า หรือโรงเรือนด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค และพักการเลี้ยงไก่ไว้ระยะหนึ่ง อย่าทิ้งซากไก่ลงในแม่น้ำลำคลอง อย่าให้น้ำที่ใช้ทำความสะอาดไหลลงแม่น้ำลำคลอง จะทำให้โรคแพร่ระบาดไปยังแหล่งอื่น และแจ้งเจ้าหน้าที่ราชการโดยเร็วที่สุด
  9. ให้ยาบำรุง วิตามิน แร่ธาตุ และมีอาหารเสริมให้กับไก่ ให้ไก่กินในสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างกระทันหัน หรือช่วงเปลี่ยนฤดูกาล ซึ่งมักเป็นสาเหตุทำให้ไก่เครียด และติดโรคได้ง่ายที่สุด ควรให้กินติดต่อกันอย่างน้อย 3 วัน 
  10. ปรึกษาสัตวแพทย์ในท้องที่เพื่อขอคำแนะนำที่ถูกต้อง

0 Comments:

แสดงความคิดเห็น