คำผาง พวงทับทิม โทร.084 125 0585

นักจัดรายการวิทยุ ของวิทยุชุมชน เอายังไง? 3 เมษายน 2565 กสทช. สั่งยกเลิ...

กสทช.ออกประกาศให้ ‘สถานีวิทยุ’ ทั่วประเทศ’ ต้องเข้าสู่ระบบการอนุญาต เริ่ม 4 เม.ย.65 ขณะที่ ‘นายกสมาคมสื่อช่อสะอาด’ ค้านประกาศ กสทช. ชี้สร้างภาระให้สถานีวิทยุชุมชน 4,000 แห่ง ท่ามกลางวิกฤตโควิด

สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า เมื่อวันที่ 26 มิ.ย.ที่ผ่านมา นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รองเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม รักษาการแทนเลขาธิการ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) ลงนามประกาศสำนักงาน กสทช. เรื่อง การเปลี่ยนผ่านการทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงไปสู่ระบบอนุญาต

สำหรับสาระสำคัญของประกาศฯฉบับดังกล่าว ได้แก่ 1.การทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงตามประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง พ.ศ.2555 ให้มีระยะเวลาถึงวันที่ 3 เม.ย.2565

2.กำหนดหลักการในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบการอนุญาตสำหรับสถานีวิทยุกระจายเสียงที่มีสถานะเป็นผู้ได้รับอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงตามประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง พ.ศ.2555 ดังต่อไปนี้

2.1 กรณีการพิจารณาอนุญาตให้ใช้งานคลื่นความถี่ระบบ เอฟ.เอ็ม กำลังส่งต่ำเพื่อประกอบกิจการกระจายเสียง ให้เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 4 เม.ย.2565 เป็นต้นไป ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ กสทช. ประกาศกำหนด

2.2 กรณีสถานีวิทยุกระจายเสียงที่ยังไม่สามารถเขาสู่กระบวนการพิจารณาอนุญาตตามข้อ 2.1 ได้ ให้ออกอากาศด้วยการใช้คลื่นงานคลื่นความถี่ด้วยกำลังต่ำตามหลักเกณฑ์ที่ กสทช. ประกาศกำหนด ตั้งแต่วันที่ 4 เม.ย.2565 โดยการใช้งานให้สิ้นสุดลงพร้อมกันในปี 2567

3.กำหนดให้ความในประกาศฉบับนี้ ถือเป็นเงื่อนไขแนบท้ายการอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงเพิ่มเติม สำหรับการทดลองประกอบกิจการกระจายเสียงทุกประเภท

4.การดำเนินการตามประกาศนี้ กสทช.มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. ปรับปรุงหรือจัดทำประกาศหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องเพื่อรองรับการดำเนินการตามแผนการดำเนินงานในการพิจารณาอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่และประกอบกิจการกระจายเสียง โดยสำนักงาน กสทช. จะจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะตามกระบวนการที่กฎหมายกำหนดต่อไป

ทั้งนี้ ประกาศ กสทช.ฉบับนี้ เป็นไปตามมติ กสทช. ครั้งที่ 10/2564 เมื่อวันที่ 25 พ.ค.2564 ที่มีมติเห็นชอบแผนการดำเนินงานในการพิจารณาอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่และประกอบกิจการกระจายเสียง และกำหนดหลักการในการเปลี่ยนผ่านการทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงไปสู่ระบบการอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่และการประกอบกิจการกระจายเสียง

พร้อมทั้งมอบหมายให้ สำนักงาน กสทช. แจ้งให้สถานีวิทยุกระจายเสียงที่ได้รับอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงทุกสถานีได้รับทราบ และเตรียมความพร้อมเข้าสู่ระบบการอนุญาต

สำนักข่าวอิศรารายงานว่า ประกาศ กสทช. ฉบับดังกล่าว ทำให้สถานีวิทยุทั่วประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงตามประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง พ.ศ.2555 กว่า 4,000 สถานี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสถานีวิทยุชุมชน จะต้องเข้าสู่ระบบการอนุญาต

นายสุทนต์ กล้าการขาย นายกสมาคมสื่อช่อสะอาด ซึ่งสมาชิกสถานีวิทยุชุมชน 421 สถานี กล่าวว่า ตั้งแต่ปี 2555 สถานีวิทยุชุมชนทั่วประเทศกว่า 4,000 แห่ง ได้รับใบอนุญาตให้ทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง คราวละ 1 ปี โดยมีการต่ออายุใบอนุญาตเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน และมีค่าธรรมเนียมสถานีละ 10,700 บาท/ปี ขณะที่กำลังส่งคลื่นวิทยุจะเป็นไปตามคำสั่ง คสช. ในปี 2557 คือ มีกำลังส่ง 500 วัตต์ และเสาส่งสัญญาณมีความสูง 60 เมตร 

แต่ประกาศ กสทช. เรื่อง การเปลี่ยนผ่านการทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงไปสู่ระบบอนุญาต ที่เพิ่งประกาศออกมานั้น จะยกเลิกการทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงในวันที่ 3 เม.ย.2565 และให้สถานีวิทยุชุมชนจะต้องเข้าสู่ระบบการอนุญาต ในวันที่ 4 เม.ย.2565 หรือต้องเข้าสู่ระบบการประมูลใบอนุญาต เนื่องจากกฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมาย กสทช. ระบุว่า การจัดสรรคลื่นความถี่ต้องใช้วิธีการประมูลเท่านั้น ซึ่งสร้างภาระให้สถานีวิทยุชุมชน โดยเฉพาะท่ามกลางวิกฤติโควิด-19 

“หลังวันที่ 3 เม.ย.2565 เป็นต้นไป ทุกสถานีต้องลดกำลังส่งจากเดิมที่ใช้อยู่ 500 วัตต์ เหลือ 50 วัตต์ ทำให้สถานีทุกแห่งต้องปรับเปลี่ยนเครื่องส่งเป็น 50 วัตต์ ถ้าเปลี่ยนไม่ได้ต้องซื้อใหม่ และใช้ได้ถึงปี 2567 เท่านั้น นอกจากนี้ เครื่องส่งที่มีกำลังส่งเพียง 50 วัตต์ จะทำให้รัศมีการออกอากาศเหลือไม่ถึง 20 เมตร จากปัจจุบันที่กำลังส่ง 500 วัตต์ มีรัศมีการออกอากาศ 5-10 กิโลเมตร อีกทั้งขณะนี้ยังไม่มีใครรู้ว่า กสทช.จะกำหนดราคาประมูลใบอนุญาตเท่าไหร่” นายสุทนต์ กล่าว

นายสุทนต์ ยังระบุว่า ปัจจุบันสถานีวิทยุที่กระจายอยู่ในต่างจังหวัด และสถานีวิทยุชุมชนทั่วประเทศ ต้องใช้เงินลงทุนสูงพอสมควร แต่มีรายได้เพียงหลักพันถึงหลักหมื่น และยังต้องเผชิญกับแข่งขันที่รุนแรงจากสื่อประเภทอื่นๆ โดยเฉพาะสื่อออนไลน์ 

นายสุทนต์ กล่าวว่า สมาคมฯจะร่วมกับสมาคมวิทยุชุมชนอื่นๆส่งหนังสือไปยัง คณะกรรมการ กสทช. ขอให้ยกเลิกมติ กสทช. ครั้งที่ 10/2564 เมื่อวันที่ 25 พ.ค.2564 รวมทั้งส่งหนังสือถึงรัฐบาลเพื่อให้เข้ามาช่วยดูแลผู้ประกอบการสถานีวิทยุด้วย เพราะมติ กสทช.ดังกล่าวสร้างความเดือดร้อนให้ผู้ประกอบการสถานีวิทยุอย่างมาก และหากไม่มีการทบทวนประกาศ กสทช. ดังกล่าว สมาคมฯจะยื่นฟ้องต่อศาลปกครองต่อไป

ลาซาด้า

 

0 Comments:

แสดงความคิดเห็น