คำผาง พวงทับทิม โทร.084 125 0585

ความหวังใหม่ๆของการรักษามะเร็ง

มะเร็ง

ความหวังใหม่ๆของการรักษามะเร็งด้วยการดูแลที่ต้นเหตุ
เคยมีคนไข้โรคมะเร็งท่านนึง เล่าให้ผู้เขียนฟังว่า “เมื่อตอนที่คุณหมอให้การวินิจฉัยว่าป่วยเป็นโรคมะเร็ง ในใจเหมือนได้ยินคำว่า “มรณะ + เอ็ง” และคิดมาตลอดว่าตายแน่ๆ ชีวิตต้องแย่ ต้องทรมานแน่ๆ” ซึ่งจากเรื่องเล่านี้ ทำให้สะท้อนความจริงข้อหนึ่งว่า โรคมะเร็งในปัจจุบันเป็นโรคที่น่ากลัว มีอัตราตายสูง อัตรารอดน้อย และที่น่ากลัว คือ ความเจ็บปวด ความทรมานของโรค ระหว่างการรักษา


นั่นเพราะ โรคมะเร็งระยะเริ่มต้นไม่มีอาการใดๆ ที่ผิดปกติ หรือแสดงออกภายนอก จนกว่าจะเริ่มแสดงอาการไม่ว่าจะเบื่ออาหาร น้ำหนักลด อ่อนเพลีย คลำได้ก้อนที่ผิดปกติ ซึ่งมักเข้าสู่ระยะลุกลาม และมีอัตราการเสียชีวิตที่สูง จึงทำให้โรคมะเร็งในปัจจุบันได้รับการจัดอันดับว่าเป็น มัจจุราช อันดับที่หนึ่ง หรือสาเหตุการตายที่พบบ่อยที่สุดในคนไทย ด้วยสถิติกว่า 60,000 คนต่อปี หรือเฉลี่ย 7 คน ต่อชั่วโมง


สถิติปัจจุบันในประเทศไทย มีผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยใหม่ว่าตรวจพบโรคมะเร็งอยู่ที่ 130,000 คน ต่อปี โดยในผู้ชายที่พบบ่อยสามอันดับแรกคือ โรคมะเร็งตับและทางเดินนำดี รองลงมาคือ มะเร็งปอด และมะเร็งลำไส้ ในขณะที่ผู้หญิง พบโรคมะเร็งเต้านมเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาคือ มะเร็งปากมดลูก โรคมะเร็งตับและทางเดินน้ำดี ตามลำดับ

การกำเนิดของเซลล์มะเร็ง ปัจจุบันเชื่อว่าแท้จริงแล้วเกิดจากสภาวะการบกพร่องของระบบเผาผลาญในเซลล์ เนื่องจากสารพิษ สารเคมี การรับรังสีบ่อย ความเครียด จนเหนี่ยวนำการเกิดอนุมูลอิสระ รวมถึงเชื้อโรค เช่น เชื้อไวรัสบางชนิด สิ่งเหล่านี้จะเข้าไปรบกวนเตาปฏิกรณ์พลังงานของเซลล์ที่เรียกว่า “ไมโทคอนเดรีย” จนทำให้ระบบการเผาผลาญบกพร่อง ทำให้เซลล์ไม่สามารถผลิตพลังงานได้ดี เซลล์จึงเกิดการเปลี่ยนแปลง อาทิ เสื่อม ตาย หรือกลายพันธุ์ เหตุนี้ "สวิตซ์ยีนพันธุกรรมของมะเร็ง” จึงถูกเปิดขึ้น เพื่อให้เซลล์ดังกล่าวมีชีวิตต่อไป เซลล์มะเร็งเซลล์แรกในร่างกายจึงถือกำเนิดขึ้น

ปกติเมื่อเกิดเซลล์มะเร็งแล้ว ร่างกายจะมีกลไกตรวจสอบผ่านทางระบบยีนยับยั้งมะเร็ง รวมถึงการทำงานของระบบภูมิต้านทานหรือเม็ดเลือดขาว ในการจับกินเซลล์แปลกปลอม แต่ถ้าระบบดังกล่าวบกพร่อง เนื่องจากสารพิษ หรือเชื้อโรคต่างๆ ที่กล่าวมา นอกจากจะเหนี่ยวนำให้เกิดมะเร็งแล้วยังทำลายระบบภูมิต้านทานของเราได้ด้วย

จึงกล่าวได้ว่า “โรคมะเร็ง นั้นแท้ที่จริง คือ ความบกพร่องของระบบเผาผลาญของเซลล์ ตลอดจนการเสื่อมและถดถอยลงของระบบภูมิต้านทานนั่นเอง”

แนวทางการรักษาโรคมะเร็ง
การรักษาตามแบบแผนการแพทย์ทั่วไป (Conventional) ได้แก่ การผ่าตัด เป็นการรักษาหลัก ซึ่งได้ผลดีในการกำจัดมะเร็งออก โดยเฉพาะมะเร็งในระยะแรก ๆ ซึ่งจะมีโอกาสหายสูง การให้เคมีบำบัด รังสีรักษา หรือที่เรียกกันง่ายๆ ว่า ฉายแสง
อย่างไรก็ตาม เป็นที่ยอมรับว่า การผ่าตัดมีผลให้มะเร็งหลุดกระจายจากเดิมที่เคยอยู่เฉพาะที่ ไปก่อมะเร็งใหม่ที่ไกลๆ ดังนั้น เมื่อผ่าตัดแล้วมักต้องให้เคมีบำบัด และ/หรือฉายแสงควบคู่ด้วย ยกเว้นมะเร็งมีขนาดเล็กมาก ไม่ลุกลาม แต่โดยทั่ว ๆ ไป กว่าจะทราบว่าเป็นมะเร็ง โรคก็มักจะเป็นมากแล้ว จึงมักมีคำถามว่า ทำไมผ่าตัด รักษาตามกระบวนการแล้ว แต่ผลไม่เป็นไปตามแผน

ประการแรก แม้ตัดมะเร็งออกหมดแล้ว หากไม่ไปดับที่เหตุ คือ การดับสวิทซ์ที่ยีน ถือเป็นจุดบอด (pitfall) ของการรักษามะเร็งอันดับแรก

ประการที่สอง เคมีบำบัดมีประสิทธิภาพในการฆ่าเซลล์มะเร็ง ขณะเดียวกันก็เป็นสารก่อมะเร็งที่ร้ายแรงที่สุดด้วย เพราะก่อให้เกิดการทำลาย DNA ระบบระบบภูมิคุ้มกันถูกทำลาย เมื่อมีเซลล์ผิดปกติจึงไม่สามารถกำจัดได้ ทำให้ก่อตัวกลายเป็นมะเร็ง ส่วนการฉายแสงทำลาย DNA ทำให้เซลล์กลายพันธุ์ ดังนั้นการรักษามะเร็งแบบแผนแพทย์ทั่วไป ตอนแรกเหมือนมะเร็งจะหายไป ตรวจสแกนไม่พบ ตรวจเลือดค่ามะเร็งลดลงเท่าคนปกติ แต่ไม่นานมะเร็งกลับมาใหม่ เพราะระบบเซลล์ในร่างกายถูกสารก่อการกลายพันธุ์ คือ เคมีบำบัด ทำให้เซลล์ดีก่อการกลายพันธุ์ต่อไปกลายเป็นมะเร็งขึ้นใหม่รอบสอง นี่เป็นจุดบอดของการรักษามะเร็งข้อที่สอง

ประการที่สาม ปัจจัยภายนอกเป็นตัวก่อมะเร็ง หากไม่เปลี่ยนแปลงมะเร็งย่อมกลับมา

การรักษาโรคตามแนวทางการแพทย์แบบบูรณาการ (Integrative Medicine)
เราผสมผสานวิธีการรักษา ทั้งการใช้องค์ความรู้เกี่ยวกับเซลล์มะเร็ง นวัตกรรมการรักษาที่ทันสมัย ธรรมชาติบำบัดควบคู่กับการรักษาหลัก เพื่อให้การรักษาครอบคลุมและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ได้แก่


1. ล้างสารพิษบำบัด เป็นการขจัดสารพิษที่คั่งค้างและสะสมในร่างกาย กำจัดได้ตั้งแต่ระบบทางเดินอาหาร ระบบเนื้อเยื่อและการไหลเวียนของเลือดรวมไปถึงระบบน้ำเหลือง เป็นอีกช่องทางการบำบัดรักษาต้นตอของปัญหา


2. การดูแลฟื้นฟูระบบภูมิต้านทานของผู้ป่วยให้แข็งแรงขึ้น ฝึกฝนให้เม็ดเลือดขาวเรียนรู้และกำจัดเซลล์มะเร็งในร่างกายของด้วยตนเอง ด้วยวิตามินและสารธรรมชาติต่างๆ การบำบัดด้วยออกซิเจน การเสริมภูมิโดยใช้เซลล์ของตนเอง ซึ่งแนวคิดนี้กลายเป็นเทคโนโลยีใหม่ของการรักษามะเร็งที่เรียกว่า “ภูมิต้านทานบำบัด” รวมถึง การทำวัคซีนเสริมภูมิ และการใช้โมเลกุลทางชีวภาพกระตุ้นการทำงานของเซลล์ระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น


3. การดูแลฟื้นฟูระบบเผาผลาญของเซลล์ ปรับสมดุลของการเผาผลาญให้มุ่งเน้นที่การเผาผลาญโดยใช้ออกซิเจน ซึ่งนำไปสู่แนวคิดของการใช้โภชนการบำบัดเพื่อปรับสมดุล


4. การกระตุ้นการทำงานของยีนที่ทำหน้าที่ยับยั้งการแบ่งตัวที่ผิดปกติ การแบ่งตัวของเซลล์นั้น ถูกควบคุมด้วยการทำงานของยีนในเซลล์ที่เรียกว่า Tumor Suppressor Gene ถ้ายีนนั้นผิดปกติ ทำงานได้ไม่ดี ก็ทำให้เซลล์แบ่งตัวเรื่อยๆ จนกลายเป็นเนื้องอกมะเร็งขึ้นมา ดังนั้น การกระตุ้น Tumor Suppressor Gene ก็จะช่วยให้ควบคุมมะเร็งได้ดีขึ้น ซึ่งทำได้หลายวิธี เช่น การ Fasting, การใช้สารอาหารสกัดบำบัด เช่น Curcumin, Green tea, NAD+ แม้กระทั่งการดูแลให้ภูมิต้านทานดีขึ้นก็จะช่วยให้ยีนนี้ทำงานได้ดีขึ้นเช่นกัน


5. การปรับสมดุลของร่างกาย หลีกเลี่ยงการนอนดึก ความเครียด การรับประทานอาหารที่อาจเพิ่มอนุมูลอิสระ อันเป็นต้นตอของปัญหา เช่น อาหารน้ำตาลสูง อาหารทอด อาหารปิ้งย่างจนไหม้เกรียม เนื้อสัตว์แปรรูป ที่อาจพบสารกันบูดปนเปื้อน เป็นต้น


6. แนวคิดเรื่อง Cell มะเร็งเริ่มต้น หรือ Cancer Stromal Cell แนวคิดอธิบายความยากของการรักษามะเร็งได้อย่างดี เพราะการรักษาในปัจจุบัน อาทิ ยาเคมีบำบัด จะออกฤทธิ์ทำลายเฉพาะเซลล์ที่แบ่งตัวออกมาออกมาจาก Cell มะเร็งเริ่มต้น แต่ไม่สามารถทำลายตัว Cell มะเร็งเริ่มต้นได้โดยตรง การรักษาแบบจำเพาะเจาะจงที่เรียกว่า ยามุ่งเป้า หรือยา Targeted Therapy มักจะออกฤทธิ์บนยีนของมะเร็งทีละหนึ่งตำแหน่งเท่านั้น แต่จริงๆ ในเซลล์มะเร็งหนึ่งเซลล์อาจพบความผิดปกติของยีนได้ถึง 20-30 ตำแหน่ง ผลลัพธ์การรักษาโดยใช้ยาเคมีบำบัด รวมถึงยามุ่งเป้าเพียงอย่างเดียว จึงมีสถิติการรอดชีวิตไม่สูงเท่าที่ควร แต่มีการศึกษาพบว่าสารสกัดจากธรรมชาติในสมุนไพรไทย อาทิ Curcumin จากขมิ้น Boswells จากไพล หรือสารคาเชซิน EGCG ที่ได้จากใบชาเขียว สามารถควบคุมยีนของมะเร็งได้หลายตำแหน่งพร้อมๆกัน และอาจจะกลายเป็นทางเลือก ทางรอดหรือความหวังเพิ่มเติมให้กับคนไข้มะเร็งได้นั่นเอง 

 

4ไล้ฟ์ ทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์ พลัส
 Plus Tri-Factor
ประหยัด 832 บาท
สั่งซื้อ Online

 

0 Comments:

แสดงความคิดเห็น